วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้อเสนอแนะการทำการตลาดระหว่างประเทศของทั้ง 2 ธุรกิจ

ฟูจิ
1.            ฟูจิ ควรที่จะทำการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคว่ามีความต้องแบบไหน เพื่อที่จะวางเป้าหมายได้ถูกต้อง
2.            ฟูจิ ควรทำการศึกษาถึงความได้เปรียบในการแข่งขันว่าธุรกิจตัวเองมีความได้เปรียบหรือเสียเปรียบในด้านใด
3.            ฟูจิ ควรมีการขนส่งสินค้าที่ดี รวดเร็ว ทันสมัย และมีความปลอดภัย โดยครอบคลุมถึงอาหารต้องสดใหม่อยู่ตลอด
4.            ฟูจิ ควรปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ไปตามทำเลที่ตั้งที่เราจะขยายไปในที่นั้น และตามให้ทันกับคู่แข่ง
เอ็มเค
1.            การนำกลยุทธ์บริหารที่เน้นนวัตกรรมการให้บริการครบวงจรที่ MK ใช้อยู่ในขณะนี้ เพื่อให้บริการที่ตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าให้ได้มากที่สุด ซึ่งคือการบริหารจัดการด้วยแนวคิด QCQS ได้แก่ ความรวดเร็วในการให้บริการ (Q = Quickness), ความสะอาดของอุปกรณ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร (C = Cleanliness), คุณภาพของอาหารที่มีการตรวจสอบมาตรฐานอย่างเข้มงวด (Q = Quality), และการให้บริการที่เป็นเลิศ (S = Service)” เป็นต้น และเป็นการสร้างความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งของธุรกิจ
2.            ทางเอ็มเค ควรมีการสร้างความปลอดภัย โดยครอบคลุมถึงความสดใหม่ของอาหาร ควรมีสุขอนามัยเพื่อให้ผู้บริโภคพึงพอใจมากที่สุด
3.            เอ็มเค ควรมีการสำรวจตลาดถึงความต้องการของผู้บริโภค เพื่อที่ตอบสนองได้ตรงตามความต้องการที่ผู้บริโภคพึงพอใจ

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สินค้าส่งออก"รถยนต์"

ส่งออกรถยนต์พุ่งแรงกว่า70% ออสเตรเลีย-อาเซียนตลาดหลัก

ตลาดส่งออกรถยนต์ยังดีต่อเนื่อง ขยายตัวสูง 74.9% เมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ชี้ออสเตรเลีย-อาเซียนยังเป็นตลาดหลัก
รายงานข่าวจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ยอดการส่งออกรถยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมามีการขยายตัวสูงขึ้นมาก ทั้งในแง่ของจำนวนคันที่ขยายตัวถึง 56.1% และมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวสูง 74.9% เมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สำหรับปัจจัยที่ส่งผลให้การส่งออกรถยนต์ของไทยขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะไปยังตลาดส่งออกรถยนต์ ที่สำคัญของไทย เช่น ออสเตรเลียและอาเซียนนั้น นอกจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ส่งผลให้ตลาดรถยนต์ในหลายประเทศแล้ว ยังเป็นผลมาจากการลดภาษีศุลกากรภายใต้กรอบความตกลงการค้าเสรีที่ประเทศคู่เจรจาปรับลดให้แก่สินค้ายานยนต์นำเข้าจากไทย ส่งผลให้ยอดการส่งออกรถยนต์ของไทยในปี 2553 นี้มีโอกาสทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่ไทยมีการส่งออกรถยนต์ไปยังต่างประเทศ
โดยในไตรมาส 1 จะพบว่ามีปริมาณการส่งออกรถยนต์ทั้งสิ้น 216,685 คัน ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และมีอัตราการขยายตัวที่สูงในรอบ 4 ปีที่ 53.1% เมื่อเทียบกับปีก่อน มีมูลค่าส่งออกประมาณ 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการเติบโตสูง 74.9% เมื่อเทียบกับปีก่อน
หากพิจารณาเป็นรายสินค้า จะพบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์ของไทยมีการเติบโตในทุกประเภทโดยเฉพาะประเภทรถยนต์นั่ง มีอัตราการเติบโต 83.5% รถแวนและปิกอัพ มีอัตราการเติบโต 76.2% รถบัสและรถบรรทุกมีอัตราการเติบโต 36% และเมื่อแบ่งตามกลุ่มประเทศเป้าหมาย ของการส่งออกพบว่า ตลาดส่งออกรถยนต์ที่สำคัญ 2 อันดับแรกของไทย คือ ออสเตรเลียและอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดที่มีมูลค่าการส่งออกรวมกันเกินกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าการส่งออกรถยนต์ทั้งหมด โดยในไตรมาสแรกมีมูลค่าการส่งออกรวมกันสูงถึง 1,614.6 ล้านเหรียญสหรัฐ โตจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 1.5%
ขณะที่การส่งออกไปยังออสเตรเลียมีการเติบโตสูงถึง 2 เท่า ในตลาดรถแวนและปิกอัพ รองลงมาคือ ตลาดรถยนต์นั่ง ตลาดรถบัส และรถบรรทุก ส่วนอาเซียน มีการขยายตัวสูงถึงกว่า 2 เท่าในตลาดรถยนต์นั่ง ตลาดรถบัส และรถบรรทุก ตามมาด้วยการส่งออกรถแวนและปิกอัพ ที่ขยายตัวดีเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ การส่งออกรถยนต์ของไทยที่ขยายตัวสูงตั้งแต่เดือนธันวาคมที่ผ่านมานั้น ได้รับปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญนอกเหนือจากฐานที่ต่ำค่อนข้างมากในปีก่อนหน้าแล้ว ยังเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของอุปสงค์รถยนต์ในตลาดต่างประเทศ และการเปิดเสรีทางการค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน
สำหรับแนวโน้มการส่งออกรถยนต์จากนี้ไป ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังเชื่อว่าจะยังคงมีอัตราการขยายตัวค่อนข้างดี โดยเฉพาะใน 2 ตลาดหลักอย่างออสเตรเลียและอาเซียน เนื่องจากปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้ความต้องการซื้อสินค้าคงทนอย่างเช่น รถยนต์มีเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้โอกาสในการนำเข้ารถยนต์จากไทยมีเพิ่มสูงขึ้นตาม
จากทิศทางการฟื้นตัวจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้ยอดขายรถยนต์ในประเทศนำเข้าหลักของไทยจะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง จากที่มีการขยายตัวในอัตราที่สูงในระดับตัวเลข 2 หลัก ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว ต่อเนื่องถึงไตรมาส 1 ของปีนี้ อัตราการขยายตัวของยอดขายรถยนต์ไตรมาส 1 ในประเทศที่เป็นตลาดส่งออกรถยนต์หลักของไทย อย่างออสเตรเลียเติบโต 18.3% อินโดนีเซียเติบโต 73.6% มาเลเซียเติบโต 22.5% ฟิลิปปินส์เติบโต 35.5%
ปัจจุบันไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์หลักที่สำคัญและใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน และยังเป็นประเทศที่มีการส่งออกรถยนต์ไปยังออสเตรเลียคิดเป็นสัดส่วนสูงเกือบ 20% ของตลาดรถยนต์นำเข้าของออสเตรเลียทั้งหมดซึ่งมีสัดส่วนสูงมากกว่า 80% ของยอดขายรถยนต์รวมทั้งประเทศ โดยรถยนต์นำเข้าจากไทยมีสัดส่วนเป็น รองเพียงรถยนต์นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในส่วนของตลาดรถปิกอัพพบว่ามีการนำเข้ารถปิกอัพจากไทยเป็นอันดับ 1 ในปีที่ผ่านมาทั้งในตลาดออสเตรเลียและอาเซียน
นอกจากนี้ การเปิดเสรีทางการค้าระหว่างไทยกับประเทศคู่เจรจา โดยเฉพาะการเปิดเสรีภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน มีโอกาสส่งผลให้ไทยสามารถขยายตลาดส่งออกในอาเซียนมากขึ้น ซึ่งหลังจากมี การเปิดเสรีอาเซียนในกลุ่มอาเซียนเดิม 6 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน และไทยส่งผลให้อัตราภาษีสำหรับสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งหมดลดเป็น 0 ทันที ทำให้มูลค่าการส่งออกรถยนต์จากไทยไปยังกลุ่มอาเซียนเพิ่มขึ้นทันทีกว่า 1.5 เท่าจากช่วงไตรมาสแรกของปีก่อน แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของไทยในฐานะฐานการผลิตของอุตสาหกรรมรถยนต์ที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียนส่วนตลาดออสเตรเลียแม้ในส่วนการ ส่งออกรถยนต์จากไทยไปออสเตรเลียจะ ไม่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากการเปิดเสรีไทย-ออสเตรเลียอย่างเต็มรูปแบบ
เนื่องจากออสเตรเลียได้ลดภาษีนำเข้ารถยนต์ทั้งหมดจากไทยเหลือ 0% ไปแล้ว ตั้งแต่ปี 2548 แต่ผลจากการเปิดเสรีดังกล่าวและการเปิดเสรีกับประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้กรอบอาเซียน ได้ทำให้เกิดทิศทางการย้ายฐานการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนสำคัญหลายชนิดมายังไทย ทั้งเพื่อจัดจำหน่ายในประเทศและ เพื่อส่งออก
เนื่องจากขนาดและความพร้อมของ อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศที่เหนือกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคซึ่งจะส่งผลให้ทิศทางการส่งออกรถยนต์จากไทยไปยังตลาดออสเตรเลียเพิ่มสูงขึ้น


 *****************************************

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเทศออสเตรเลีย



สภาพภูมิอากาศของประเทศออสเตรเลีย

สภาพภูมิอากาศของออสเตรเลียแตกต่างกันในแต่ละรัฐ สภาพอากาศทั่วไป จะเป็นแบบเขตร้อนจนถึงเขตอบอุ่น อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดที่ทัสมาเนียประมาณ 0-12 องศาเซลเซียส และร้อนสุดที่มณฑลตอนเหนือประมาณ 33-34 องศาเซลเซียส
  • ฤดูใบไม้ผลิ กันยายน-พฤศจิกายน อากาศดี ดอกไม้บานสวยงาม
  • ฤดูร้อน ธันวาคม-กุมภาพันธ์ อากาศร้อนและแห้งแล้ง บางแห่งร้อนจัดและอาจมีไฟป่า
  • ฤดูใบไม้ร่วง มีนาคม-พฤษภาคม อากาศเริ่มเย็นลง ตามเมืองชายฝั่งทางตอนใต้และเมืองในเขตป่า ฝนจะตกชุก บางแห่งอาจมีน้ำท่วม
  • ฤดูหนาว มิถุนายน-สิงหาคม อากาศเย็นจัดมีหิมะตกบนเขตภูเขาสูงโดยทั่วไป

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การค้าระหว่างประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการระหว่างประเทศ ประเทศใดที่จะพยายามผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรือส่งออก ประเทศนั้นจะพัฒนาได้ช้า และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะต่ำ ถ้าพิจารณาในแง่ของบุคคลจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าบุคคลพยายามปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง ฟอกหนังสัตว์และเย็บรองเท้าไว้ใช้เอง ปลูกฝ้าย ทอผ้า  เย็บเสื้อผ้าเอง มาตรฐานการครองชีพของประชาชนนั้นจะต่ำมาก เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากร ความชำนาญแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือประเทศ การดำเนินนโยบายช่วยตนเองอย่างสมบูรณ์จึงเป็นไปได้ยากในทางปัจจุบันนี้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จำเป็นต้องติดต่อพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  ประเทศใดที่พยายามจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศดำเนินนโยบายปิด จะพบว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนั้นจะเชื่องช้าและมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะอยู่ในระดับต่ำประชาชนต้องบริโภคสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในประเทศเท่านั้น  ไม่มีโอกาสที่จะบริโภคสินค้าและบริการที่จำเป็นในการครองชีพ
 ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิดมีการติดต่อค้าขายกับนานาประเทศอย่างกว้างขวางภายใต้ระบบเศรษฐกิจเปิดการค้าระหว่างประเทศ จะก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจหลายประการ ดังนี้
   
            1. การแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) เมื่อมีการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศแต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนถนัด เช่น ไทย เลือกผลิตข้าว มันสำปะหลัง สิ่งทอ ญี่ปุ่น จะเลือกผลิตเครื่องยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
   
            2. ความชำนาญเป็นพิเศษ (Specialization) การผลิตสินค้าที่ถนัดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จะก่อให้เกิดความชำนาญ
   
            3. ประสิทธิภาพ (Productivity) การผลิตสินค้าด้วยความชำนาญทำให้สินค้ามีคุณภาพสูง
   
           
4. ปัจจัยการผลิตเอื้ออำนวย (Factors Endowment) แต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศอย่างเหมาะสม
สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ
1. ปริมาณและชนิดของปัจจัยการผลิต
     
         การค้าระหว่างประเทศ เกิดขึ้นเนื่องจากประเทศต่างๆ มีปัจจัยหรือทรัพยากรการผลิตในปริมาณไม่เท่ากัน หรือไม่เหมือนกัน ปัจจัยการผลิตใด  ถ้ามีมากจะมีผลทำให้ราคาปัจจัยนั้นต่ำและจะส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิต และราคาสินค้าต่ำลงไปด้วย
2. ความเหมาะสมของปัจจัยการผลิต  
ปัจจัยการผลิตมิได้มีคุณสมบัติเหมือนกันทั้งหมด เช่น ประเทศที่มีแรงงานมาก มิได้หมายความว่า จะต้องสามารถผลิตและส่งออกสินค้าทุกชนิดที่เน้นแรงงาน สินค้าบางชนิดต้องการแรงงานที่มีประสิทธิภาพ หรือความชำนาญเป็นพิเศษ
3. ปริมาณการผลิต
    
            การผลิตในปริมาณมาก จะมีผลทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง แต่การผลิตในปริมาณมาก ๆ นั้น จะต้องมีตลาดรองรับผลผลิต ตลาดภายในประเทศ อาจจะมีขนาดไม่ใหญ่พอที่จะรองรับผลผลิตทั้งหมดได้ จึงต้องมีตลาดต่างประเทศไว้รองรับผลผลิตส่วนเกิน
4. ต้นทุนการขนส่ง ค่าขนส่งวัตถุดิบ และค่าขนส่งสินค้าสำเร็จรูป
    
            เป็นต้นทุนส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของสินค้า ดังนั้นความแตกต่างในต้นทุนการขนส่งจะก่อให้เกิดความแตกต่างในราคาสินค้าเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งการค้าระหว่างประเทศ

การตลาดระหว่างประเทศ
การตลาดระหว่างประเทศ คือ การนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการส่งมอบให้กับลูกค้าในประเทศต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อสร้างส่วนแบ่งทางการตลาดใหม่หรือแบ่งส่วนตลาดเดิม เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในประเทศเป้าหมาย โดยใช้กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดที่เหมาะสม อาจเป็นการใช้มาตรฐานเดียวกับประเทศแม่หรือการปรับให้เหมาะสมกับแต่ละประเทศ
การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นธุรกิจจะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศได้นั้น การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การดำเนินการทางการตลาดโดยใช้หลักการตลาดพื้นฐานทั่วไป ที่ธุรกิจเคยใช้มาในตลาดภายในประเทศแล้วประสบความสำเร็จ เช่น การใช้ส่วนประสมทางการตลาด (Product, Price,Place and Promotion) ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศเลยก็ได้  เนื่องจากตลาดภายในประเทศกับตลาดระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ อยู่เป็นอย่างมาก สิ่งที่นักการตลาดระหว่างประเทศต้องระลึกถึงเสมอก็คือ วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาดภายในประเทศรวมถึงตลาดระหว่างประเทศนั้นธุรกิจต้องค้นหาวิธีที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ความแตกต่างการค้าระหว่างประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศ
การค้าการค้าระหว่างประเทศเป็น การแลกเปลี่ยนสินค้า และบริการระหว่างประเทศ  ซึ่งจะผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรือส่งออก ซึ่งประเทศนั้นจะพัฒนาได้ช้าและมีค่าครองชีพต่ำ ประชาชนต้องบริโภคสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในประเทศเท่านั้น  ไม่มีโอกาสที่จะบริโภคสินค้าและบริการที่จำเป็นในการครองชีพ
              การตลาดระหว่างประเทศ เป็น การส่งสินค้าหรือบริการออกไปยังตลาดของประเทศต่างๆที่เป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากกว่าการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งนักการตลาดระหว่างประเทศจะต้องระลึกถึงเสมอก็คือ วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาดภายในประเทศรวมถึงตลาดระหว่างประเทศนั้นธุรกิจต้องค้นหาวิธีที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

คำจำกัดความและความหมายของการขาย


เป็นภาพสินค้า พร้อมราคา
คำว่า การขาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 453 เกี่ยวกับการซื้อขายระบุว่า อันการขายนั้น คือสัญญาที่บุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ขายจะโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงจะชดใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย

ลักษณะการขาย

การขายเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่เป็นศาสตร์หมายถึงการปฏิบัติจะต้องมีกฎเกณฑ์ มีทฤษฎี ระเบียบ วิธีการเฉพาะ  ที่สามารถพิสูจน์ วิเคราะห์และปฏิบัติการได้  การขายจะต้องมีระเบียบและวิธีการของตนเอง  ส่วนศิลป์  หมายถึง วิธีการนำไปใช้กับบุคคล  ซึ่งบุคคลแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน  คนแต่ละคนย่อมมีความรู้สึกนึกคิดที่เป็นของตนเอง  การขายต้องมีศิลปะในการพูดเพื่อจูงใจลูกค้า  ให้ลูกค้าเห็นว่าสินค้าของเราสามารถแก้ปัญหา  และช่วยลูกค้าได้
ได้มีผู้ให้คำจำกัดความและความหมายของการขายไว้หลายแบบ หลายประการด้วยกัน 
                การขาย หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ความจำเป็น หรือความต้องการของลูกค้า และช่วยให้เขาค้นพบว่าความจำเป็น  หรือความต้องการของเขาจะได้รับการตอบสนองด้วยสินค้าหรือบริการที่พนักงานขายเสนอ

แหล่งที่มา : http://mathayom.brr.ac.th/~alluser/anong/learn1.htm